“มุ่งสู่การพัฒนาตามหลักธรรมาภิบาล ประสานพลังประชาชน สนใจผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อมปลอดภัย บริการที่ทันสมัย ดำรงไว้ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ข้อมูลเทศบาล
ว่าที่ร้อยตรีปัญญา อุ่นประดิษฐ์ - นายกเทศมนตรีตำบลสันกำแพง<br>โทร. 065-2412957

ว่าที่ร้อยตรีปัญญา อุ่นประดิษฐ์

นายกเทศมนตรีตำบลสันกำแพง
โทร. 065-2412957

สายตรงนายก

sankamphaeng
sankamphaeng

สถานที่สำคัญในตำบล

วัดศรีบุญเรือง (วัดป่าเส้า) (สันกำแพงชวนเที่ยว ศาสนสถานในเขตเทศบาลตำบลสันกำแพง)

  • 11 สิงหาคม 2566
  • อ่าน 85 ครั้ง

ประวัติความเป็นมาของวัดตรีบุญเรืองวัดศรีบุญเรือง หรือวัดป่าเส้าแห่งนี้ สร้างขึ้นในราวเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๓๐ ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเข้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์วัดศรีบุญเรืองยังจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๖หมู่ บ้านป่าเส้าตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมิ่งมงคล ( หลวงพ่อน้ำบ่อยา)ณ พระวิหารอีกด้วยการปกครองคณะสงฆ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ตั้งวัดประมาณ ๒ ไร่ ๓งาน ที่ธรณีสงฆ์ ๑ แปง

ประวัติความเป็นมาของ( หลวงพ่อน้ำบ่อยา ) สถานที่อุทยานปู่ญ่าแห่งนี้ ตั้งอยู่ห่างจากวัดศรีบุญเรือง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๕๐๐เมตร ในสมัยโบราณ. สถานที่แห่งนี้สันนิษฐานว่า เป็นหมู่บ้านของคนโบราณ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน สังเกตเห็นได้ชัดเจนจากองค์หลวงพ่อน้ำบ่อยา มีลักษณะที่อิ่มเอิบ อ้วนท้วนสมบูรณ์ ยิ้มแบบมีความสุขอยู่ตลอดเวลา แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้นว่า มีความอุดมสมบูรณ์ มีการเป็นอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขผู้คนในสมัยนั้นมีจิตใจ ที่เคารพต่อพระพุทธศาสนา อย่างสูงส่ง จนสามารถร่วมกันสร้างวัดวาอารามขึ้นในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อเป็นที่พึ่งทางด้วนจิตใจของพวกเขา พระพุทธรูปหลวงพ่อน้ำบ่อยาคงสร้างขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน และยังเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในสมัยนั้นหลังจากนั้นเกิดเหตุร้ายขึ้นในหมู่บ้านหรือมีข้าศึกขากอาณาจักรอื่น มาลุกลา จึงทำให้คนในหมู่บ้านแห่งนี้ต้องนำเอาพระพุทธรูปสคู่บ้านคู่เมืององค์นี้ไปซ่อนไว้ ยังที่ปลอดภัยก่อนเพราะช้าศึกในสมัยนั้นลุกลานที่ใด ก็จะทำลายสถานที่ หรือถาวรวัตถุทุกชิ้นที่พบเห็น หลังจากที่เอาพระไปซ่อนให้พ้นภัยจากข้าศึก ซึ่งสถานที่เอาไปช่อนนั้นอยู่ห่างจากน้ำบ่อยาไปทางทิศใต้ ประมาณ ๕๐๐ เมตร เสร็จภารกิจ การปกป้องพระพุทธศาสนาให้ปลอดภัย ชาวบ้านก็ต้องพากันอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังที่อื่นจึงทำให้สถานที่แห่งนี้ถูกล้างมาหลายร้อยปี มาถึงในยุคของคนรุ่นหลัง ที่พากันมาอยู่ใหม่ก็พากันจับจองเป็นที่อาศัยทำกินประมาณปีพ.ศ 2350 สถานที่ตั้งวัดโบราณนั้นหลังจากที่ล้างมานานก็เหลือเพียงซากของทานเจดีย์ที่ยังปรากฏให้เห็น ผู้คนที่ทำมาหากินในละแวกนั้นผ่านไปผ่านมาก็ยกมือไหว้ไม่รู้ว่าเป็นอะไรในวันโบราณแห่งนี้มีน้ำบ่ออยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดซึ่งในสมัยนั้นสถานที่รกร้างมากถ้าไม่สังเกตจริงๆจะไม่เห็นน้ำบ่อหลังจากนั้นประมาณปีพ.ศ 2480 ได้มีผู้หญิงแก่คนหนึ่งไม่สบายมากไปรักษาหมอที่ไหนก็ไม่หายแกก็ได้มาตักเอาน้ำบ่อนี้ไปกินเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นผู้หญิงแก่คนนี้ได้หายจากโรคที่เขาเป็นอยู่กลับมามีสุขภาพดีเหมือนเดิม ทุกคนมากมายรู้ข่าวจึงพากันมาตักน้ำบอลแห่งนี้ ไปกินเพื่อรักษาโรคต่างๆจึงทำให้สถานที่แห่งนี้ถูกเรียกว่าน้ำบ่อยาจนถึงทุกวันนี้ สถานที่ค้นพบหลวงพ่อน้ำบ่อายาอยู่ห่างจากวัดร้างไปที่ใต้ประมาณ 500 เมตรสถานที่แห่งนี้ตามการเล่าของผู้เฒ่าในหมู่บ้านป่าเส้านี้เล่าว่าไอ้ประมาณปีพ.ศ 2563 เป็นทุ่งนาของพ่อก้อนกันแก้วลักษณะของห้องน้ำมีกองปลวกอยู่ทางหัวทุ่งนากองพวกนี้ไม่ค่อยใหญ่เท่าไหร่ก็พวกนี้มีลักษณะแปลกมากกว่าที่อื่นบริเวณ กล้องปลวกมีต้นหญ้าขึ้นเต็มไปหมด แต่ที่น่าแปลกก็คือ ตรงด้านบนของกองโปร่งไม่มีต้นหญ้าขึ้นเลยสักต้นเมื่อเทียบกับกองปลวกอื่นจะมีหญ้าขึ้นอยู่บนด้วย ที่แปลกไปกว่านั้น เวลาไฟไหม้ทีไร ไฟก็จะไม่ไปถึงไข้บริเวณฐานของกองปลวกเท่านั้น ถือเป็นกองโปรดที่แปลกกว่ากล่องปลวกที่อยู่ในบริเวณนั้นเลยทีเดียว หลังจากนั้นในพ.ศ 2505 พ่อก้อนการแก้วก็ได้ขายที่นาผืนนี้ให้กับนายอำเภอทองสุข ซึ่งเป็นนายอำเภอสันกำแพงในสมัยนั้น ท่านอยากจะ ทำการปรับที่ดินตรงหัวนาให้เท่าเดียวกัน จึงไปจ้างคน บ้านกองปราบเอื้องมาทำการปรับที่ดินพวกนั้น ให้ทำการปรับที่ดิน โดยจะขุดกรองปลวกนั้นออกขุดไปขุดมาก็เจอพนะพุทธรูปเข้า ข่าวคราวนี้ดังขึ้นเร็วมากทำให้คนทุกสาระทิศพากันมาดูพระพุทธรูปที่ขุดเจอสภาพของพระพุทธรูปชำรุดพอสมควรจึงได้มีการบูรณะใหม่ขึ้นผู้คนจึงเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า หลวงพ่อน้ำบ่อยา เพราะเจอในพื้นที่น้ำบ่อยาแห่งนี้หลังจากมีการบูรณะพระพุทธรูปเสร็จแล้ว ชาวบ้านจึงได้อาราธนานิมนต์ หลวงพ่อน้ำบ่อยา มาประดิษฐาน ณ พระวิหารของวัดศรีบุญเรือง จนถึงทุกวันนี้





แชร์สถานที่สำคัญนี้ให้เพื่อน: