“มุ่งสู่การพัฒนาตามหลักธรรมาภิบาล ประสานพลังประชาชน สนใจผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อมปลอดภัย บริการที่ทันสมัย ดำรงไว้ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ข้อมูลเทศบาล
ว่าที่ร้อยตรีปัญญา อุ่นประดิษฐ์ - นายกเทศมนตรีตำบลสันกำแพง<br>โทร. 065-2412957

ว่าที่ร้อยตรีปัญญา อุ่นประดิษฐ์

นายกเทศมนตรีตำบลสันกำแพง
โทร. 065-2412957

สายตรงนายก

sankamphaeng
sankamphaeng

สถานที่สำคัญในตำบล

วัดทรายมูล (สันกำแพงชวนเที่ยว ศาสนสถานในเขตเทศบาลตำบลสันกำแพง)

  • 11 สิงหาคม 2566
  • อ่าน 73 ครั้ง

วัดทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดราษฎร์มหานิกาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๒๔๖ แต่เดิมชื่อว่า
วัดสันก้างปลาเพราะเรียกชื่อตามหมู่บ้าน ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นป่าไม้ก้างปลี่เกิดขึ้นที่ดอนทราย ที่น้ำแม่ออนพัดพามา ชาวบ้านในสมัยนั้นช่วยกันแผ่วถ้างสร้างโรงกระต๊อบมุงด้วยใบจาก ใช้เป็นโรงปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์และศรัทธาทายกทายิกาศรัทธาที่อุปถัมภ์วัด วัดทรายมูล แต่เดิมมีการบออกเล่าสืบต่อกันมา และอ้างประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ว่าสร้างขึ้นเมื่อสมัยเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าสมัยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ลิ้นคำ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเวลา ๒๑๖ ปี มีพระยาสุรวะฤชัยสงคราม(หนานติ๊บช้าง) กู้เอกราชพร้อมกับพระเจ้าตากสิน ช่วยกันกอบกู้เมืองเชียงใหม่ ปี พ.ศ. ๒๓๑๙ ในสมัยนั้นเชียงใหม่ยังตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่ ในสมัยที่เจ้าแรนร่าเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๑๑ ซึ่งเป็นคนพม่าและมีเจ้าเมืองสืบต่อมาอีก ๖ องค์ โดยได้ยึดคืนได้ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๑ พระยากาวิละได้รวบรวมคนจากเมืองต่างๆ เหล่านั้นไว้เมืองเชียงใหม่หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้แล้ว เมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองร้างไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ โดยไปต้อนผู้คนจากเมืองปุ เมืองสาดเมืองแจด เมืองกึ่ง เมืองกุน มารวมเมืองเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๒ ไปตีเอาชาวเมือง (ต้อนเอาผู้คน)ในรัฐฉานมาไว้ที่วัวลาย นันตาสี่เหลี่ยม บ้านสะต่อย สร้อยไร่ ท่าร้างบ้านนา ทุ่งอ้อ และไปตีเอาเมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง แคว้นต่างๆ ในสิบสองปันนามาถึงหัวเมืองบนถึงฝั่งแม่น้ำสาละวิน โดยเฉพาะเขตน้ำหนังดินล้านนามาก่อนรวม ๕๗ หัวเมืองชาวทรายมูลแต่เดิมนั้นเป็นชาวไตเขินที่ถูกกวาดต้อนมาพร้อมกับชาวเชินบ้านสันก้างปลาบ้านมอญ บ้านสันกลางเหนือ และอีกหลายแห่งที่พลัดถิ่นอยู่กันคนละอำเภอ แต่ได้รับอิทธิพลในสมัยนั้น คือการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ เช่น วัฒนธรรมการพูด การทำอาหาร การแต่งกายการก่อสร้างบ้านเรือน และประเพณีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

แชร์สถานที่สำคัญนี้ให้เพื่อน: